top of page

ฮีตสิบสอง(12)

วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอีสานที่ดำรงชีพอยู่ในสังคมเกษตรกรรม ตามสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่แห้งแล้งกันดารนั้น ในความเชื่อต่อการดำเนินชีวิตที่มีความผาสุกและเจริญรุ่งเรืองเกิดขึ้นแก่ครอบครัวและบ้านเมืองก็ต้องมีการประกอบพิธีกรรม มีการเซ่นสรวงบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย และร่วมทำบุญตามประเพณีทางพุทธศาสนาด้วยทุกๆเดือนในรอบปีนั้นมีการจัดงานบุญพื้นบ้านประเพณีพื้นเมืองกันเป็นประจำ จึงได้ถือเป็นประเพณี 12 เดือนเรียกกันว่า ฮีตสิบสอง ถือกันว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาถึงปัจจุบัน คติความเชื่อในวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่เกี่ยวพันกับการเกษตรกรรม เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจต่อการดำรงชีวิตชาวอีสานจึงมีงานบุญพื้นบ้านมากมายจนได้ชื่อว่าเป็นภูมิภาคที่มีงานประเพณีพื้นบ้านมากที่สุดในประเทศ ฮีตสิบสองเดือนหรือประเพณีสิบสองเดือนนั้น ชาวอีสานร่วมกันประกอบพิธีนับแต่ต้นปี สำหรับประเพณีหลัก ๆ  12  เดือนตามฮีตสิบสองของชาวอีสานโบราณนั้น ได้แก่ 

 

ฮีตบุญเข้ากรรม

ฮีต

1
ฮีต
บุญเข้ากรรม

   บุญเดือนอ้าย  

     ชาวบ้านจะเริ่มเตรียมทำลานนวดข้าว ทำปลาร้าไว้เป็นอาหาร  สะสมข้าวปลาไว้กินในหน้าแล้ง เก็บเกี่ยวข้าวในนา เล่นว่าว ชักว่าวสนู นิมนต์พระสงฆ์เข้าประวาสกรรม ตามประเพณีนั้นมีการทำบุญทางศาสนา เพื่ออนิสงฆ์ทดแทนบุญคุณต่อบรรพบุรุษ ชาวบ้านเลี้ยงผีแถน ผีบรรพบุรุษ
 

ฮีตบุญคูณลาน

ฮีต

2
ฮีต
บุญคูณลาน

     บุญเดือนยี่    

     ในฤดูหลังการเก็บเกี่ยว ชาวบ้านจะทำบุญเรียกว่าบุญอุ้งข้าวใหญ่เพื่อเปิดยุ้งเปิดฉาง โดยนิมนต์พระสวดมนต์เย็นเป็นมงคลแก่ข้าวเปลือก รุ่งเช้าเมื่อพระฉันเช้าแล้วจะมีการทำพิธีสู่ขวัญข้าว พระสงฆ์เทศน์เรื่องแม่โพสพ ทำพิธีปลงข้าวในลอมและฟาดข้าวในลาน ขนข้าวเหลือกขึ้นเล้า (ยุ้งฉาง) นับเป็นความเชื่อในการบำรุงขวัญและสิริมงคลทางเกษตรกรรม มีทั้งทำบุญที่วัดและบางครั้งทกบุญที่ลานนวดข้าว เมื่อขนข้าวใส่ยุ้งแล้วมักไปทำบุญที่วัด 

ฮีตบุญข้าวจี่

ฮีต

3
ฮีต
บุญข้าวจี่

   บุญเดือนสาม   

     จะมีการทำบุญโดยการนำข้าวจี่ ข้าวเกรียบ ขนมจีนถวายรวมกับภัตตาหารคาวหวาน  การทำบุญข้าวจี่ชาวบ้านจะเริ่มเตรียมตอนเช้ามืดโดยใช้ข้าวเหนียวปั้นใส่น้ำอ้อยนำไปจี่บนไฟ อ่อนแล้วชุบด้วยไข่เมื่อสุกแล้วนำไปถวายพระ อันเป็นการแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ ก่อนวันทำบุญเรียกว่าวันโฮมมีการแห่เตรียมดอกไม้ตามท้องไร่ท้องนา เช้ามืดวันทำบุญมีการแห่ข้าวพันก้อน

ฮีตบุญเผวส

ฮีต

4
ฮีต
บุญเผวส หรือ
เทศมหาชาติ

     บุญเดือนสี่    

     ตามประเพณีวัดหนองยางจะปฏิบัติ 3 วัน มีการทำบุญถวายภัตตาหารคาวหวาน หรือถวายจังหันเช้า-เพล การทำบุญแจกข้าวอุทิศให้บรรพบุรุษ ประเพณีเทศน์มหาชาติเหมือนกับประเพณีภาคอื่นๆ ด้วย เป็นงานบุญทางพุทธศาสนาที่ถือปฏิบัติ ตอนบ่ายฟังเทศน์ เรื่องเวสสันดรชาดก

ฮีตบุญมหาสงกรานต์

ฮีต

5
ฮีต
บุญมหาสงกรานต์

   บุญเดือนห้า   

     บุญสรงน้ำ หรือเทศกาลสงกรานต์ ตามประเพณีจัดงานสงกรานต์นั้น มีการทำบุญถวายภัตตาหารคาวหวาน หรือถวายจังหันเช้า-เพลตลอดเทศกาล บ้านหนองยางจะจัด 4 วัน คือวันที่ 13 14 15 และวันที่ 16 เมษายนของทุกปีจะมีการจัดงานสรงน้ำพระและรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ และจัดตั้งกองผ้าป่า แห่ผ้าป่าสามัคคีของชาวบ้านและลูกหลานที่ไปทำงานต่างจังหวัด

ฮีตบุญบั้งไฟ

ฮีต

6
ฮีต
บุญบั้งไฟ

   บุญเดือนหก   

     ชาวอีสานจะจัดงานบุญบั้งไฟแต่เป็นบั้งไฟเล็กที่เรียกว่า บั้งตะไล เป็นการนำไม้ไผ่มาดัดเป็นวงกลมสำหรับไว้จับ ใช้ดินปืนอัดแน่นในท่อพีวีซีขนาดเล็ก เจาะรูไว้สำหรับต่อไฟ วันจัดงานคณะกรรมการหมู่บ้านจะกำหนดถือเป็นการทำบุญบูชาแถน (เทวดา) เพื่อขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลและความอุดมสมบูรณ์ของข้าวปลาอาหารในปีต่อไปครั้นวันเพ็ญหก มีการจัดแข่งขันบั้งตะไลโดยคณะกรรมการจะนำไม้ไผ่มาดัดเป็นห่วงขนาดให้บั้งตะไลลอดผ่านไปได้ตกแต่งให้สวยงาม ผู้เข้าแข่งขั้นคนใดส่งบั้งตะไลผ่านห่วงได้ก็จะได้เป็นผู้ชนะ

ฮีตบุญซำฮะ

ฮีต

7
ฮีต
บุญซำฮะ

   บุญเดือนเจ็ด   

     เป็นงานบุญเบิกบ้านเบิกเมือง หรือการทำบุญกลางบ้าน เป็นการทำบุญเพื่อระลึกถึงบรรพบุรุษ  มีการนิมนต์พระมาสวดมนต์เย็น ชาวบ้านได้นำกรวด หิน มาวางไว้ เช้าวันต่อมาชาวบ้านสร้างกระทงสามเหลี่ยมใส่อาหารคาวหวาน ไปทำบุญตอนเช้าพร้อมภัตตาหาร หลังจากนั้นชาวบ้านจึงนำกรวดมาขวางใส่หลังคาบ้านตนเองเพื่อปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย และกระทงไปทิ้งตามทางสามแพร่งเพื่อให้สัมภเวสี ต่อจากนั้นความเชื่อหลังจากหว่านข้าวกล้าดำนาเสร็จ มีการทำพิธีเซ่นสรวงเจ้าที่นา โดยการนำสำรับคาวหวานไปวางไว้ที่นาเรียกเจ้าที่เจ้าทางมารับ เพื่อความเป็นสิริมงคลให้ข้าวกล้าในนางงอกงาม

ฮีตบุญเข้าพรรษา

ฮีต

8
ฮีต
บุญเข้าพรรษา

   บุญเดือนแปด  

   มีพิธีหล่อเทียนพรรษางานบุญเทศกาลเข้าพรรษาแต่ชาวบ้านช่วยกันหล่อเทียนพรรษา ประดับให้สวยงาม จัดขบวนแห่เพื่อนำไปถวายเป็นพุทธบูชา มีการทำบุญถวายภัตตหาร เครื่องไทยทานและผ้าอาบน้ำฝน เพื่อพระสงฆ์จะได้นำไปใช้ตลอดเทศกาลเข้าพรรษา

ฮีตบุญข้าวประดับดิน

ฮีต

9
ฮีต
บุญข้าวประดับดิน

   บุญเดือนเก้า   

     เป็นการทำบุญเพื่ออุทิศแก่ญาติผู้ล่วงลับ  เพื่อบูชาผีบรรพบุรุษและผีไร้ญาติ  โดยชาวบ้านจะทำการจัดอาหาร  ประกอบด้วยข้าว  ของหวาน  หมากพลู  บุหรี่ห่อด้วยใบตองกล้วยร้อยเป็นพวง  เตรียมไว้ถวายพระช่วงเลี้ยงเพล  บางพื้นที่อาจจะนำห่อข้าวน้อย  เหล้า  บุหรี่  แล้วนำไปวางหรือแขวนไว้ตามต้นไม้และกล่าวเชิญวิญญาณของบรรพบุรุษและญาติ มิตรที่ล่วงลับไปมารับส่วนกุศลในครั้งนี้  ต่อมาใช้วิธีการกรวดน้ำหลังการถวายภัตตาหารพระสงฆ์แทน
 

ฮีตบุญข้าวสาก

ฮีต

10
ฮีต
บุญข้าวสาก

    บุญเดือนสิบ    

     ประเพณีทำบุญข้าวสาก (กระยาสารท) หรือข้าวสลาก  (สลากภัตร)  ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบผู้ถวายจะเขียนชื่อของตนลงในภาชนะที่ใส่ของทานและ เขียนชื่อลงในบาตร ภิกษุสามเณรรูปใดจับได้สลากของใครผู้นั้นจะเข้าไปถวายของเมื่อพระฉันเสร็จ แล้วจะมีการฟังเทศน์เพื่อเป็นการอุทิศให้แก่ผู้ตาย

ฮีตบุญออกพรรษา

ฮีต

11
ฮีต
บุญออกพรรษา

     มีพิธีถวายผ้าห่มหนาวในวันเพ็ญ มีงานบุญตักบาตรเทโว พิธีกวนข้าวทิพย์ มีการถวายผ้าห่มหนาวแต่พระพุทธพระสงฆ์ วันแรม 1 ค่ำ งานบุญตักบาตรเทโว ตอนเย็นวันขึ้น 14 ค่ำ มีพิธีกวนข้าวทิพย์ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา มีทั้งงานบุญกุศลและสนุกสนานรื่นเริง 

   บุญเดือนสิบเอ็ด   

ฮีตบุญกฐิน

ฮีต

12
ฮีต
บุญกฐิน

   บุญเดือนสิบสอง   

     เป็นเดือนส่งท้ายปีเก่าซึ่งจะมีการทำบุญกองกฐิน ก่อนถึงวันจะมีการโฮมตั้งกองกฐิน มีการห่อข้าวต้มมัด เตรียมผ้าไกร มีการสวดมนต์เย็น ทำบุญข้าวเม่าพิธีถวายกฐินเมื่อถึงวันเพ็ญจัดทำข้าวเม่า(ข้าวใหม่)นำไปถวายพระ พร้อมสำรับคาวหวานขึ้นตอนบ่ายฟ้งเทศน์เป็นอานิสงส์จัดสอง

bottom of page